สมาชิก FOMC เรียกร้องให้ใช้นโยบายที่เข้มงวดทางการเงิน!
เรื่องร้อนในสัปดาห์นี้หนีไม่พ้นเรื่องของรายงานการประชุมจาก FOMC ที่ปล่อยออกมาในคืนวันพุธเวลา 02.00น.ตามเวลาบ้านเรา โดยรายงานการประชุมรอบนี้เป็นของรอบการประชุมเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งในโพสต์นี้เราจะสรุปใจความสำคัญของรายงานการประชุมให้ทุกคนได้เข้าใจกันแบบง่ายๆ
#สรุปFOMC Meeting Minutes
1.สมาชิก FOMC หลายท่านมีความเห็นตรงกันว่าเงินเฟ้อมีความรุนแรงและไปไกลเกินกว่าแค่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการะแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 จนน่าเป็นห่วงอย่างมาก
2.สมาชิก FOMC หลายท่านคิดว่าตัวเลขเงินเฟ้อในเชิงราคาเกินกว่าระดับเฉลี่ย 2% ที่เคยคาดการณ์ไว้มามากแล้วด้วยสาเหตุจาก Supply Shortage ในช่วงที่ผ่านมา และการกลับมาเปิดเมืองของหลายๆประเทศ ดังนั้นตอนนี้สมควรเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้แล้ว
3.สมาชิกมองตรงกันว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกควรจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้
4.สมาชิกมองว่าการถือครองสินทรัพย์ในงลดุลของเฟดมากเกินไปแล้ว เป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วที่จะลดขนาดการถือครองสินทรัพย์ในงบดุลลง
5.ในเรื่องการลดงบดุล วิธีการที่สมาชิกเสนอกันคือ ปล่อยให้พันธบัตรที่กำลังจะหมดอายุนั้นหมดอายุไปโดยไม่reinvestedต่อ และสมาชิกบางท่านเสนอว่าอาจจำเป็นขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยออกไปเพื่อให้เฟดถือครองเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น
6.สมาชิก FOMC บางท่านแสดงความกังวลต่อสเถียรภาพทางการเงินในขณะนี้ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและการเพิ่มสูงขึ้นของราคาคริปโทเคอเรนซี่ จึงเรียกร้องให้มีการใช้นโยบายที่เข้มงวดทางการเงินมากกว่านี้
แล้วจริงๆมีอะไรซ่อนอยู่ในสรุปรายงานการประชุมครั้งนี้?
แม้จะย้ำนักหนาว่าขึ้นดอกเบี้ย ลดงบดุล แต่ความไม่ชัดเจนเรื่องของตัวเลขการขึ้นดอกเบี้ยว่าจะขึ้นครั้งละเท่าไหร่ ขึ้นกี่ครั้งในปีนี้ และช่วงเวลาที่แน่นอนของการลดงบดุลว่าคือเมื่อไหร่ แสดงถึงการที่เฟดเองก็ไม่ได้กล้าจะแต่เบรคแรงและเร็วเกินไป เฟดต้องประเมินสถาณการณ์ทุกอย่างแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป” เพราะถ้าแตะเบรคแรงเกิน เศรษฐกิจอาจล้มได้ทุกเมื่อ ซึ่งเชื่อว่าเฟดเองเห็นอนาคตอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น จึงไม่กล้ารีบบอกรายละเอียดเชิงตัวเลขดอกเบี้ยใดๆในตอนนี้นั่นเอง
แล้วนักลงทุนจะทำอย่างไรในช่วงนี้?
ระยะสั้น: ตอนนี้ยังไม่ต้องรีบ Panic อะไร รอจนกว่าจะมีความชัดเจนอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่ก็ไม่ควรประมาท ควรติดตามสถาณการณ์ข่าวสารเป็นประจำ
ระยะยาว: ในปีนี้ควรเตรียมปรับพอร์ท มองหาแล้วว่าสินทรัพย์หรือธุรกิจอะไรจะได้ประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น และควรรู้เตรียมปรับพอร์ทลดสินทรัพย์ที่จะเสียประโยชน์จากเทรนขาขึ้นของดอกเบี้ยเช่นกัน รวมทั้งคาดการณ์ FundFlow ของเงินลงทุนที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากการเปลี่ยนแปลงงบดุลของเฟดในอนาคต