นโยบายต่อต้านการฟอกเงิน (AML)

(พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)

นิยามทั่วไป

คำด้านล่างจะมีความหมายตามที่ระบุต่อไปนี้ยกเว้นบริบทกำหนดไว้เป็นอื่น

“ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ” หมายถึง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ, ด้านการดำเนินงานหรือการพาณิชย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัด เมื่อเริ่มความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายคาดหวังว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะคงอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง

“ลูกค้า” หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ, ทำธุรกรรมรายการหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกับบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัด

“บริษัท” หมายถึง หนึ่งในองค์กรที่ระบุด้านล่างนี้

บริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัด จัดตั้งในประเทศเซเชลส์ หมายเลขบริษัท: 8422618-1 หมายเลขผู้จัดการประกันสังคม: เอสดี027

“กฎหมาย” หมายถึง พระราชบัญญัติต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2552 (2009)

“คู่มือ” หมายถึง คู่มือการบริหารความเสี่ยงและขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัด

“การฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย” หมายถึง การกระทำผิดข้อหาการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายตามที่ระบุในข้อย่อย 3 (การกระทำผิด) ของพระราชบัญญัติต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2552 (2009)

 

บทนำ

คู่มือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติ, มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมภายในบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัดเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย

คู่มือนี้จัดทำและอัปเดตเป็นครั้งคราวโดยฝ่ายต่อต้านการฟอกเงิน

 

การปฏิบัติตามระเบียบ

คณะกรรมการ (จากนี้จะอ้างถึงโดยเรียกว่า “คณะกรรมการ”) ของบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัดจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ (จากนี้จะอ้างถึงโดยเรียกว่า “เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงิน-AMLCO”) เพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย การปรับแก้และ/หรือเปลี่ยนแปลงคู่มือนี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินจะเผยแพร่คู่มือนี้ต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ทำหน้าที่จัดการ, เฝ้าระวังหรือควบคุมธุรกรรมของลูกค้าและดำเนินงานตามแนวทางการปฏิบัติ, มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมที่กำหนด คู่มือนี้จัดเตรียมโดยสอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎหมาย

 

การบังคับใช้คู่มือ

คู่มือนี้บังคับใช้กับบริการทุกประเภทของบริษัท, การติดต่อกับลูกค้า,  ธุรกรรมการซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศซึ่งไม่ได้ประสงค์ให้ส่งมอบสกุลเงินต่างประเทศที่ตกลงซื้อ-ขายจริงๆหรือไม่ได้ตกลงชำระธุรกรรมด้วยเงินสดโดยไม่ต้องพิจารณาถึงขนาดหรือความถี่ของธุรกรรมการซื้อ-ขายผ่านบัญชีของลูกค้า

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินมีหน้าที่อัปเดตคู่มือเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎหมายที่บังคับใช้ในอนาคต และสอดคล้องกับขั้นตอนการตรวจสอบลูกค้าที่ทำธุรกรรมซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศกับบริษัท

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายมีดังต่อไปนี้:

  1. กำหนด, บันทึกและอนุมัติหลักการและนโยบายทั่วไปของบริษัทที่เกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายและแจ้งนโยบายนี้ต่อเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงิน
  2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและผู้ช่วย (ถ้าจำเป็น) , ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่และบันทึกในคู่มือ
  3. อนุมัติคู่มือ
  4. ตรวจเช็กการปฏิบัติตามกฎหมาย, ดูแลให้มีระบบและการควบคุมที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและครอบคลุมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
  5. ดูแลให้เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและผู้ช่วย (ถ้ามี) และเจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย (นั่นคือ บุคลากรฝ่ายธุรการ/กิจการภายใน) จัดทำและสามารถใช้ข้อมูลการระบุตัวตนของลูกค้า, เอกสารการทำธุรกรรม (ในกรณีที่บังคับใช้), ไฟล์และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างไม่ล่าช้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. พนักงานทุกคนต้องรับทราบการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและผู้ช่วย (ถ้ามี) เนื่องจากพนักงานต้องรายงานธุรกรรมและ/หรือกิจกรรมที่พบหรือสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายต่อเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและผู้ช่วยเหล่านี้
  7. กำหนดสายการรายงานที่ชัดเจนและรวดเร็วเพื่อรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัยต่อเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินโดยไม่ล่าช้าไม่ว่ารายงานโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินหรือผ่านผู้ช่วย (ถ้ามี) และแจ้งเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินให้ทราบสายการรายงานนี้ตามที่ระบุไว้ในคู่มือ
  8. ดูแลให้เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและหัวหน้าฝ่ายธุรการ/กิจการภายในมีทรัพยากรเพียงพอในการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถและอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงิน

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินคือเจ้าหน้าที่ระดับสูงในบริษัทที่สามารถสั่งการหน่วยงานในบริษัทตามที่จำเป็น เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินเป็นผู้นำในการใช้ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการต่อต้านการฟอกเงินและรายงานผลต่อฝ่ายบริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่

ในการปฏิบัติหน้าที่และควบคุมการดำเนินงานของบริษัทให้สอดคล้องกับกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินจะได้รับและสามารถเข้าถึงข้อมูลและรายงานที่จัดทำโดยองค์กรรระหว่างประเทศ

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินมีดังต่อไปนี้:

  1. กำหนดแนวทางการปฏิบัติ, มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายตามหลักการและนโยบายทั่วไปของบริษัท มาตรการและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการใช้เทคโนโลยีและระบบบริการทางการเงินอย่างไม่ถูกต้องและเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายจะใช้เป็นแนวทางเมื่อมีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และการเปลี่ยนโปรไฟล์ทางการเงินของบริษัท (เช่น การเข้าตลาดใหม่)
  2. จัดทำและกำหนดนโยบายการรับลูกค้าและเสนอนโยบายต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและอนุมัติ
  3. ตรวจแก้และอัปเดตคู่มือตามที่จำเป็นเป็นครั้งคราว และแจ้งการอัปเดตนั้นต่อคณะกรรมการเพื่อการอนุมัติ
  4. ให้คำแนะนำและแนวทางแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย

การติดตามตรวจสอบบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงจากการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินมีหน้าที่ติดตามและจัดทำขั้นตอนการติดตามตรวจสอบที่บริษัทนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมีหน้าที่ป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายดังต่อไปนี้:

  1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องตรวจสอบและประเมินความเหมาะสม, ประสิทธิภาพและความครอบคลุมของนโยบาย, แนวทางการปฏิบัติ, มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและกลไกการควบคุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายตามที่ระบุในคู่มือ
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในทำรายงานผลการตรวจสอบและสังเกตการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรตามที่ระบุในข้อ 1 และส่งรายงานถึงคณะกรรมการ

ขั้นตอนการทำความรู้จักลูกค้าตามระดับความเสี่ยง 

บริษัทใช้แนวทางการปฏิบัติและมาตรการที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวังกิจกรรมที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายสูงกว่ากิจกรรมอื่น

แนวทางการปฏิบัติตามระดับความเสี่ยงที่บริษัทนำมาใช้และอธิบายไว้ในคู่มือนี้มีดังต่อไปนี้:

  1. รับทราบว่าแต่ละกลุ่มลูกค้า, ประเทศ, การบริการและเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายแตกต่างกัน
  2. คณะกรรมการจัดประเภทลูกค้าตามระดับความเสี่ยงของธุรกิจของลูกค้า
  3. คณะกรรมการมีแนวทางของตนเองในการจัดทำนโยบาย, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะและลักษณะเฉพาะของบริษัท
  4. ช่วยสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย

แนวทางการปฏิบัติตามระดับความเสี่ยงที่บริษัทปฏิบัติและอธิบายไว้ในคู่มือนี้ครอบคลุมมาตรการและขั้นตอนการประเมินวิธีที่เหมาะสมที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อจัดการความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายของบริษัท

มาตรการดังกล่าว ได้แก่:

  1. ระบุและประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายของลูกค้าบางท่านหรือบางกลุ่ม, เครื่องมือทางการเงินหรือบริการบางประเภท, หรือบางพื้นที่ที่ลูกค้าดำเนินธุรกิจอยู่
  2. จัดการและลดความเสี่ยงตามที่ประเมินโดยใช้มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  3. ติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานตามนโยบาย, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมอย่างต่อเนื่อง

การใช้มาตรการและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีลักษณะและขอบข่ายเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงขึ้นอยู่กับตัวบ่งชี้ต่างๆซึ่ง ได้แก่:

  1. ระดับและความซับซ้อนของบริการที่บริษัทเสนอให้ลูกค้า
  2. พื้นที่ที่บริษัทให้บริการและที่ตั้งของบริษัทลูกค้า
  3. ลักษณะ (เช่น ไม่พบกับลูกค้าโดยตรง) และโปรไฟล์ทางการเงินของลูกค้า, เครื่องมือทางการเงินและบริการที่บริษัทเสนอ
  4. ปริมาณและขนาดของธุรกรรม
  5. แหล่งที่มาและปลายทางของเงินทุนของลูกค้า
  6. ลักษณะของธุรกรรมในการทำธุรกิจ

องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำและใช้มาตรการและขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระดับความเสี่ยงและในการทำความรู้จักลูกค้า เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและหัวหน้าฝ่ายธุรการ/กิจการภายในต้องอ้างอิงตามข้อมูลและรายงานที่เชื่อถือได้จากองค์กรระหว่างประเทศดังต่อไปนี้

  1. สำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา
  2. กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน สหภาพอังกฤษ (EEAS)
  3. กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรป
  4. คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FTAF)

ขั้นตอนการระบุตัวตนลูกค้า

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินต้องได้รับเอกสารและข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบที่บังคับใช้และตามความเหมาะสมดังนี้

  1. บริษัทต้องได้รับข้อมูลต่อไปนี้เพื่อยืนยันตัวตนที่แท้จริงของบุคคลธรรมดา:
    ก.ชื่อจริง และ/หรือชื่อตามที่ระบุในบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
    ข. อยู่ถาวรที่ครบถ้วน (รวมถึงรหัสไปรษณีย์) ตามที่ระบุในเอกสารข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้:
    i. ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภคของที่พักอาศัย
    ii. ใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Statement)
    ค. หมายเลขโทรศัพท์ (บ้านและมือถือ) และโทรสาร
    ง. อีเมล (ถ้ามี)
    จ. วันและสถานที่เกิด
    ฉ. เชื้อชาติ
    ช. รายละเอียดอาชีพของลูกค้ารวมถึงชื่อนายจ้าง/บริษัท (ถ้าจำเป็น) ในกรณีที่ข้อมูลขัดแย้งกัน
  2. เพื่อยืนยันตัวตน/ชื่อลูกค้า ลูกค้าต้องแสดงเอกสารฉบับจริงที่ออกโดยหน่วยงานอิสระที่เชื่อถือได้และมีรูปภาพของลูกค้าบนเอกสาร (เช่น หนังสือเดินทาง, บัตรประชาชน, ใบขับขี่) หลังบริษัทได้รับเอกสารยืนยันตัวตนฉบับจริงของลูกค้า บริษัทจะเก็บสำเนาเอกสารนี้ไว้ บริษัทต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าเอกสารเหล่านี้ออกโดยหน่วยงานอิสระที่เชื่อถือได้ เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินต้องประเมินความเป็นอิสระและความน่าเชื่อถือของหน่วยงานที่ออกเอกสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่บันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประเมินตามที่บังคับใช้

  3. ยืนยันความถูกต้องของที่อยู่ถาวรของลูกค้าโดยวิธีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้:
    ก. เยี่ยมชมที่อยู่ของลูกค้า (ในกรณีนี้เจ้าหน้าที่ของบริษัทที่เยี่ยมชมสถานที่ต้องทำบันทึกเพื่อเก็บไว้ในไฟล์ของลูกค้า)
    ข. ตรวจสอบใบเสร็จสาธารณูปโภคล่าสุด (ไม่นานเกิน 6 เดือน) ใบเสร็จการชำระภาษีจากหน่วยงานท้องถิ่น, ใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Statement) หรือเอกสารอื่นในลักษณะเดียวกัน (ลูกค้าต้องแสดงเอกสารต้นฉบับเพื่อป้องกันการใช้เอกสารปลอมหรือลอกเลียนแบบ)
    ค. จดหมายทางการจากบริษัทที่ส่งไปยังที่อยู่ถาวรของลูกค้า โดยเจ้าหน้าที่ต้องทำสำเนาเนื้อหาในจดหมายไว้ด้วยเพื่อยืนยัน
  4. หากลูกค้ามาจากการแนะนำของพนักงานของบริษัทที่เชื่อถือได้หรือจากการแนะนำของลูกค้าท่านอื่นซึ่งรู้จักกับคณะกรรมการเป็นส่วนตัว  นอกจากขั้นตอนข้างต้นแล้วเจ้าหน้าที่ต้องเพิ่มขั้นตอนการยืนยันตัวตนลูกค้าโดยบันทึกรายละเอียดการแนะนำลูกค้าในไฟล์ลูกค้า

  5. มาตรการข้างต้นนอกจากเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย ข้อมูลข้างต้นยังจำเป็นต่อการปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางการเงิน เจ้าหน้าที่ต้องเช็กหมายเลขหนังสือเดินทาง, วันออกหนังสือเดินทางและวันเกิดลูกค้าในเอกสารที่บริษัทได้รับกับข้อมูลในลิสต์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อความชัดเจนว่าลูกค้ามีชื่อในลิสต์บุคคลที่ถูกสั่งลงโทษทางการเงินหรือไม่ ซึ่งต้องยืนยันกับแหล่งข้อมูลในลิสต์ขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

การอ้างอิงบุคคลที่สามเพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนลูกค้า

ในขั้นตอนการตรวจสอบลูกค้าและยืนยันตัวตนลูกค้า บริษัทอาจอ้างอิงกับบุคคลที่สามดังต่อไปนี้:

  1. บุคคลที่สามสามารถแสดงข้อมูลทั้งหมดได้ทันที เอกสารต้องรับรองสำเนาถูกต้องและบริษัทต้องเก็บเอกสารในขั้นตอนการตรวจสอบลูกค้าและยืนยันตัวตนลูกค้า
  2. บริษัทใช้มาตรการตรวจสอบที่เหมาะสมกับบุคคลที่สามโดยเช็กการจดทะเบียนการประกอบอาชีพ และใช้ขั้นตอนการปฏิบัติงานและมาตรการอื่นๆเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุข้างต้น

ธุรกรรมที่น่าสงสัย

ลักษณะหรือประเภทธุรกรรมที่น่าสงสัยที่อาจเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายมีมากมายไม่จำกัด ธุรกรรมที่น่าสงสัยมักจะไม่สอดคล้องกับธุรกิจตามกฎหมายที่ลูกค้าแจ้ง หรือไม่สอดคล้องกับกิจกรรมส่วนตัว, ธุรกิจปกติในบัญชีของลูกค้าหรือโปรไฟล์ทางการเงินลูกค้าที่บริษัททำไว้ บริษัทต้องมีข้อมูลเพียงพอและทราบกิจกรรมของลูกค้าเพื่อรับทราบทันทีเมื่อมีธุรกรรมหรือชุดธุรกรรมที่ไม่ปกติหรือน่าสงสัย

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินต้องดำเนินการต่อไปนี้เพื่อสืบทราบธุรกรรมที่น่าสงสัย:

  1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานะทางการเงิน, กิจกรรมทางธุรกิจและประเภทธุรกรรมของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
  2. ติดตามอย่างสม่ำเสมอว่าลูกค้าเกี่ยวข้องกับข้อใดข้อหนึ่งด้านล่างนี้หรือไม่ซึ่งอาจเป็นธุรกรรม/กิจกรรมที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย

การฟอกเงิน

    1. ธุรกรรมที่ไม่มีวัตถุประสงค์แน่ชัดหรือมีความซับซ้อนโดยไม่จำเป็น
    2. ใช้บัญชีในต่างประเทศของบริษัทหรือกลุ่มบริษัทซึ่งมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นซับซ้อนและไม่สมเหตุสมผลกับความต้องการและโปรไฟล์ทางการเงินของลูกค้า
    3. ธุรกรรมหรือขนาดของธุรกรรมที่ลูกค้ามีคำขอไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติและกิจกรรมธุรกิจตามปกติของลูกค้า
    4. ปริมาณธุรกรรมขนาดใหญ่และ/หรือเงินที่หักออกหรือฝากเข้าบัญชีไม่สอดคล้องกับธุรกิจของลูกค้า
    5. ลูกค้าทำธุรกรรมรายการเดียวและใช้ระยะเวลาสั้น
    6. ไม่พบเหตุผลที่เหมาะสมในการที่ลูกค้าเลือกใช้บริการสถาบันทางการเงินบางแห่ง เช่น ลูกค้ามีที่อยู่ห่างไกลจากสถาบันทางการเงินแห่งนั้นและลูกค้าอยู่ในพื้นที่ที่สามารถใช้บริการสถาบันทางการเงินแห่งอื่นได้
    7. ลูกค้าทำธุรกรรมการซื้อ-ขายเครื่องมือทางการเงินประเภทเดียวบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลชัดเจนและดูผิดปกติ (โบรกเกอร์ซื้อ-ขายบ่อยหรือมากผิดปกติ)
    8. ลูกค้าซื้อเครื่องมือทางการเงินเฉพาะอย่างปริมาณน้อยแต่ซื้อ-ขายบ่อยครั้งและชำระด้วยเงินสด หรือลูกค้าขายเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดในธุรกรรมเดียวและรับชำระด้วยเงินสด หรือลูกค้าสั่งโอนผลกำไรไปบัญชีที่ไม่ใช่บัญชีปกติของลูกค้า
    9. ลักษณะ, ขนาดและความถี่ของธุรกรรมดูผิดปกติ เช่น ยกเลิกคำสั่งซื้อ-ขายหลังการฝากผลกำไรเข้าบัญชี
    10. ธุรกรรมไม่สอดคล้องกับสภาพทั่วไปของตลาดโดยเฉพาะขนาดและความถี่ของคำสั่งซื้อ-ขาย
    11. การชำระธุรกรรมโดยใช้เงินสดโดยเฉพาะธุรกรรมขนาดใหญ่
    12. การชำระธุรกรรมโดยบุคคลที่สามที่ไม่ใช่ลูกค้าผู้มีคำสั่งซื้อ-ขาย
    13. มีคำสั่งจ่ายเงินให้บุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ออกคำสั่ง
    14. การโอนเงินทุนไปที่หรือมาจากประเทศหรือพื้นที่ซึ่งไม่บังคับใช้คำแนะนำของ FATF เกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายหรือบังคับใช้อย่างไม่เคร่งครัด
    15. เมื่อเริ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจลูกค้าไม่สะดวกที่จะแจ้งข้อมูลครบถ้วนเกี่ยวกับลักษณะและวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทางธุรกิจ, กิจกรรมที่คาดว่าจะทำผ่านบัญชี, ความสัมพันธ์กับสถาบันทางการเงินในอดีต, ชื่อเจ้าหน้าที่และกรรมการบริษัทลูกค้า, หรือที่ตั้งในการประกอบธุรกิจ ลูกค้ามักจะให้ข้อมูลน้อยที่สุดหรือให้ข้อมูลที่อาจทำให้เข้าใจผิดซึ่งตรวจสอบได้ยากหรือต้องมีค่าใช้สูงในการตรวจสอบ
    16. ลูกค้าแสดงเอกสารระบุตัวตนที่ผิดปกติหรือน่าสงสัยและไม่สามารถยืนยันความถูกต้อง
    17. เบอร์โทรศัพท์ที่บ้าน/บริษัทของลูกค้าไม่สามารถติดต่อได้
    18. ลูกค้าที่ไม่มีประวัติการทำงานในอดีตหรือปัจจุบันแต่สามารถทำธุรกรรมขนาดใหญ่หรือทำธุรกรรมได้บ่อยครั้ง
    19. ลูกค้า/นิติบุคคลแสดงใบแจ้งยอดเงินหรือเอกสารระบุตัวตนได้ช้าหรือมีปัญหาในการแสดงเอกสาร
    20. ลูกค้ามาจากการแนะนำของสถาบันการเงินต่างประเทศหรือบุคคลที่สามที่อยู่ในประเทศหรือพื้นที่ซึ่งไม่บังคับใช้คำแนะนำของ FATF เกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายหรือบังคับใช้อย่างไม่เคร่งครัด
    21. ลูกค้าทำธุรกรรมโดยใช้เงินสดและใช้ที่อยู่ร่วมกับที่อยู่อื่น เช่น บุคคลที่ใช้ที่อยู่เดียวกับสถานที่ประกอบธุรกิจและ/หรือที่อยู่ไม่สอดคล้องกับอาชีพที่ระบุ (เช่น นักศึกษา, ว่างงาน, มีธุรกิจของตัวเอง)
    22. อาชีพที่ลูกค้าระบุไม่สอดคล้องกับระดับหรือขนาดของธุรกรรมที่ลูกค้าสั่งดำเนินการ
    23. ธุรกรรมขององค์กรการกุศลหรือองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเงินที่สมเหตุสมผล หรือไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมขององค์กรตามที่แจ้งกับอีกฝ่ายที่ทำธุรกรรมด้วย
    24. พบความไม่สอดคล้องที่ไม่สามารถอธิบายได้ในขั้นตอนการระบุและยืนยันตัวตนลูกค้า (เช่น ที่อยู่ในฮ่องกงในอดีตและปัจจุบัน, หนังสือเดินทางฮ่องกง, ประเทศที่ลูกค้าเคยไปตามที่บันทึกในหนังสือเดินทาง, เอกสารประกอบที่ยืนยันชื่อ, ที่อยู่และวันเกิดของลูกค้า)
    25. โครงสร้างผู้จัดการทรัพย์สินหรือตัวแทนถือทรัพย์มีความซับซ้อน
    26. ทำธุรกรรมหรือโครงสร้างบริษัทแบบ Eternal Global Market หรือดำเนินการทางพาณิชย์โดยไม่จำเป็น เช่น บริษัทออกใบหุ้นที่ไม่ระบุชื่อผู้ถือ (bearer shares) หรือออกเอกสารกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือทางการเงินโดยไม่ระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือใช้ที่อยู่ติดต่อเป็นตู้ ป.ณ.
    27. ใช้เอกสารตัวแทนถือทรัพย์ (nominee) ในลักษณะที่ขัดขวางการควบคุมของคณะกรรมการบริษัท
    28. เจ้าหน้าที่ในสถาบันทางการเงินเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ (เช่น ใช้ชีวิตหรูหราขึ้นหรือเจ้าหน้าที่ต้องการทำงานในออฟฟิศแม้จะเป็นวันหยุด)
    29. เจ้าหน้าที่ในสถาบันการเงินเปลี่ยนลักษณะการปฏิบัติงานหรือเปลี่ยนพฤติกรรม

ขั้นตอนการเก็บบันทึก

ฝ่ายธุรการ/กิจการภายในของบริษัทต้องเก็บบันทึกเอกสารต่อไปนี้:

  1. เอกสารการระบุตัวตนลูกค้าในขั้นตอนการตรวจสอบลูกค้าและยืนยันตัวตนลูกค้า (ถ้าบังคับใช้)
  2. บันทึกข้อกำหนดบริการทางการเงินที่ลูกค้าเลือกใช้

บริษัทต้องเก็บเอกสาร/ข้อมูลที่ระบุข้างต้นเป็นเวลาอย่างน้อยห้า (5) ปีนับจากวันทำธุรกรรมหรือวันสิ้นสุดความสัมพันธ์ทางธุรกิจ บริษัทต้องเก็บเอกสาร/ข้อมูลในข้อ (1) และ (2) ข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบจนกว่าหน่วยงานตรวจสอบจะยืนยันว่าการตรวจสอบเสร็จสมบูรณ์และปิดเคสแล้ว

รูปแบบของบันทึก

ฝ่ายธุรการ/กิจการภายในของบริษัทต้องเก็บเอกสาร/ข้อมูลที่ระบุข้างต้นที่เป็นฉบับจริงหรือฉบับสำเนาที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องในรูปแบบเอกสารฉบับพิมพ์และในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายธุรการ/กิจการภายในของบริษัทต้องสามารถเรียกใช้เอกสารนี้ได้อย่างไม่ล่าช้าและนำเสนอข้อมูลให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลได้ตลอดเวลาถ้าหน่วยงานเหล่านี้มีคำขอ

หากบริษัทกำหนดนโยบายการเก็บเอกสาร/ข้อมูล นโยบายนี้ต้องพิจารณาข้อกำหนดตามกฎหมายด้วยการรับรองเอกสารและภาษาในเอกสาร

  1. เอกสาร/ข้อมูลที่เก็บต้องเป็นฉบับจริงหรือฉบับสำเนาที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีที่รับรองสำเนาโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทหรือโดยบุคคลที่สามตามที่ระบุใน “การอ้างอิงบุคคลที่สามเพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนลูกค้า” เอกสารต้องรับรองโดยทนายโนตารี่
  2. ในกรณีที่เอกสารในข้อ (1) เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ต้องแนบฉบับแปลมาด้วย ทุกครั้งที่บริษัทยอมรับลูกค้าใหม่ ฝ่ายธุรการ/กิจการภายในของบริษัทมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ (1) และ (2) ข้างต้น

ความรับผิดชอบของฝ่ายกิจการภายใน

ฝ่ายกิจการภายในของบริษัทมีหน้าที่ต่อไปนี้ในการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย:

  1. เจ้าหน้าที่ของบริษัทมีความรับผิดตามกฎหมายหากเจ้าหน้าที่ไม่รายงานข้อมูลหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย
  2. เจ้าหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือและรายงานทันทีที่พบธุรกรรมที่น่าสงสัยแม้เพียงเล็กน้อยว่าอาจเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย
  3. นอกจากข้อ (2) แล้วเจ้าหน้าที่ของบริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรายงานเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย

นโยบายการให้ความรู้และการฝึกอบรม

    1. เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินต้องแน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัททราบหน้าที่ตามกฎหมายของตนเองโดยจัดโปรแกรมให้ความรู้และการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่อย่างครบถ้วน
    2. ช่วงเวลาและเนื้อหาโปรแกรมการให้ความรู้และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆกำหนดตามความจำเป็นของบริษัท ความถี่ของการฝึกอบรมขึ้นอยู่กับการปรับแก้กฎหมายและ/หรือข้อกำหนดของหน่วยงานที่กำกับดูแล, หน้าที่ของเจ้าหน้าที่และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆในระบบการเงิน
    3. โปรแกรมการฝึกอบรมมุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการล่าสุดในการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย, แนวการปฏิบัติและแนวโน้มตามวัตถุประสงค์นี้

หมายเหตุ : หากเอกสารฉบับนี้มีการตีความเป็นภาษาอื่น หรือเกิดข้อพิพาทในการตีความหมาย ให้อิงฉบับภาษาอังกฤษมาใช้ในการตีความและตัดสินเป็นหลัก