โจ ไบเดน ลงนามคำสั่งศึกษาคริปโทเคอเรนซี่อย่างเป็นทางการแล้ว!
ประเด็นอะไรที่เราควรรู้บ้าง?
พักจากเรื่องสงคราม มาสู่เรื่องอื่นๆกันบ้าง และประเด็นร้อนในสัปดาห์นี้มาตกอยู่ที่ “คริปโทเคอเรนซี่” ที่ล่าสุดประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ลงนามคำสั่งเพื่อทำการศึกษาถึงความเสี่ยงและผลประโยชน์ของคริปโทเคอเรนซี่ รวมถึงการศึกษาเรื่องของ “ดอลลาร์ดิจิทัล” ด้วยเช่นกัน จะมีประเด็นอะไรกันบ้าง และนำมาเป็นแนวทางในการลงทุนของเราได้อย่างไร เราสรุปมาให้แล้วในโพสต์นี้
#สรุปประเด็นการศึกษาความเสี่ยงและผลประโยชน์ของคริปโทเคอเรนซี่
1.การปกป้องนักลงทุนและผู้บริโภค
หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดในการการลงนามคำสั่งครั้งนี้ เพราะมีเรื่องร้องเรียนมากมายจากนักลงทุนรายย่อยเกี่ยวกับการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางคริปโท หรือการสูยเสียเงินทั้งหมดไปจากการลงทุนคริปโทจากการฉ้อโกงโดยผู้ออกเหรียญ การโจมตีทางไซเบอร์ หรือแม้แต่จากตัวนักลงทุนเอง ดังนั้นคำสั่งคร้ังนี้จึงมีขึ้นเพื่อให้หน่วยงานกำกับดูลแลออกนโยบายเพื่อปกป้องนักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอลต่างๆ
2.เสถียรภาพทางการเงิน
นางเจเนท เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เคยแจ้งว่าต้องการให้สภาออกกฏหมายกำกับดูแลอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิตอล ดังนั้นคำสั่งลงนามครั้งนี้จึงสอดคล้องกับสิ่งที่ขุนคลังเคยกล่าวไว้ เพราะจะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้นเมื่อมีกฏหมายชัดเจน และประเด็นของ Stable Coin เพื่อใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการนั้น ก็จะถูกศึกษาถึงความมีเสถียรภาพถ้าหากนำมาใช้จริงๆ
3.กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
นี้คือประเด็ญสำคัญอันดับสองของคำสั่งในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงการกระทำผิดต่างๆผ่านทางคริปโทเคอเรนซี่ เช่น การฟอกเงิน หรือแม้แต่ประเด็นล่าสุดคือเป็นช่องทางการเงินของรัสเซียเพื่อใช้ในการทำสงคราม ดังนั้นการลงนามคำสั่งครั้งนี้จะทำให้รัฐบาลมีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และหาวิธีการกำกับหรือป้องกันภัยต่างๆที่อาจกระทบกับความมั่นคงของชาติได้
4.ด้านสิ่งแวดล้อม
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้แสดงความกังวลต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบมาจากอุตสาหกรรมคริปโทเคอเรนซี่ ดังนั้นจึงต้องการให้คณะทำงานศึกษาว่าจะใช้นวัฒกรรมอะไรเพื่อมาลดผลกระทบ หรือรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
5. ความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐฯด้านคริปโท ในเวทีโลก
ในขณะที่จีนแบนอุตสาหกรรมคริปโทในประเทศ สหรัฐจึงใช้โอกาสนี้มองหาโอกาสในอุตสาหรกรรมคริปโท โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีคำสั่งให้กระทรวงพาณิชย์ไปหาวิธีเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความเป็นผู้นำของสหรัฐฯในระดับโลกต่ออุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล
6. ดอลลาร์ดิจิทัล
ในที่สุดรัฐบาลที่นำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็ตัดสินใจที่จะศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการใช้เงินดอลลาร์ในรูปแบบของดิจิทัล เพื่อให้ตามทันทางรัฐบาลจีนที่นำไปหนึ่งก้าวในเรื่องนี้ โดยโจ ไบเดน ต้องการให้เรื่องเป็น “เรื่องด่วน” ในการค้นคว้าในครั้งนี้ เพราะในขณะที่ฝั่งจีนกำลังนำไปไกลในเรื่องหยวนดิจิทัลเนื่องจากมีการนำมาใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันแล้ว สหรัฐจึงต้องการเร่งตามให้ทันเช่นกัน
สรุปปรับใช้กับแนวทางการลงทุน
อันที่จริงเรื่องนี้เราพอจะได้ยินกันมาระยะใหญ่ๆแล้วว่าภาครัฐของทางสหรัฐฯเริ่มขยับตัวกับเรื่องคริปโทเคอเรนซี่มากขึ้น ไม่ว่าจะจากภาครัฐเช่น กลต. หรือธนาคารกลาง ก็ตาม แต่ยังครั้งนี้ถือว่าเป็นการออกตัวชัดเจนจากรัฐบาลแล้วว่าต้องการเข้ามาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นจึงถือเป็นข่าวเชิงบวกในระยะยาวมากว่าจะเป็นเชิงลบกับวราคาเหรียญต่างๆ เพราะถือเป็นสัญญาณว่าวันหนึ่งคริปโทเคอเรนซี่อาจถูกกฏหมายแบบ100% และนั่นจะนำมาซึ่งปริมาณความต้องการรวมถึงเงินทุนที่หลั่งไหล จนทำให้ราคาเหรียญต่างๆ และอตุสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตได้อีกมากในอนาคตระยะยาว