ตลาดฟอเร็กซ์มีความเชื่อมโยงกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหรือไม่?
หลายท่านที่เทรดฟอเร็กซ์อาจไม่สนใจว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรหรือ Bond Yield (บอนด์ยิว) นั้นคืออะไร หรือเผลอๆอาจไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยในชีวิต ว่าแต่ว่า สรุปแล้วบอนด์ยิวมีความเกี่ยวข้องกับการเทรดฟอเร็กซ์หรือไม่? ถ้าอยากรู้…อ่านเฉลยในบทความนี้ได้เลย
จริงหรือว่าการเทรดฟอเร็กซ์สนใจแค่กราฟกับบางข่าวก็พอ?
คำตอบคือ ทั้งจริงและไม่จริง
จริง ถ้าเราสนใจแค่เทคนิค และรู้ข่าวไว้เพื่อแค่หลบความผันผวนของราคาตอนเทรด
ไม่จริง เพราะสกุลเงินที่เราเทรดมีพื้นฐานการขึ้นลงของราคามาจากการเคลื่อนที่ของเงินทุน(Fund Flow) ซึ่งเป็นระดับมหภาค ต้องสนใจความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆในโลกใบนี้ด้วยไม่ใช่แค่กราฟกับบางข่าวเท่านั้น
เอาหล่ะ จะตอบแบบไหนก็ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่ความพอใจของแต่ละคน
แต่ถ้าคำตอบในหัวของคุณคือไม่จริง หรือรู้สึกว่าอยากยกระดับความรู้ไปอีกขั้น เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นในภาพกว้าง บทความนี้เหมาะกับคุณ
เข้าเรื่อง…
เมื่อถามว่าปัจจัยอะไรกระทบกับค่าเงินได้บ้าง? คำตอบจะมีมากมาย ไล่ตั้งแต่ตัวเลข GDP, ตัวเลขเงินเฟ้อ, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอื่นๆ
ประเด็นสำคัญของบทความนี้ที่เราจะมาเล่าให้ฟังกันก็คือเรื่องของ “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ที่กระทบกับค่าเงินที่เราเทรดฟอเร็กซ์
“อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” คืออะไร
คืออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของประเทศจะเป็นผู้กำหนดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศดำเนินตามนโยบายดอกเบี้ยที่ประกาศไว้ ซึ่งจะกระทบกับอัตราดอกเบี้ยกู้และฝาก ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้จ่าย การลงทุน การออม และเศรษฐกิจของประเทศในท้ายที่สุด
แล้วอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เกี่ยวอะไรกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร?
คำตอบคือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นตัวกำหนดอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร (Bond Yield) > แล้วอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ก็จะส่งผลกับค่าเงินในที่สุด
แต่คำถามคือส่งผลได้ยังไง? กลไกคืออะไร?
กลไกการขึ้นดอกเบี้ย
เมื่อธนาคารกลางของประเทศนั้นๆตัดสินใจปรับเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก็ไม่ใช่จู่ๆดอกเบี้ยจะลอยขึ้นลอยลงได้ทันที การจะเพิ่มหรือลดดอกเบี้ยได้นั้น กลไกคือต้องเพิ่มหรือลดเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารกลางจะกระทำผ่านการ “ซื้อหรือขายพันธบัตร”
แต่พันธบัตร คือตราสารทางการเงินที่เป็นสินทรัพย์ประเภทหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนเป็น ดอกเบี้ย
ดังนั้น อัตรา ”ดอกเบี้ยนโยบาย” เป็นตัวกำหนดอัตรา “ดอกเบี้ยพันธบัตร” และความน่าดึงดูดใจของดอกเบี้ยพันธบัตร คือสิ่งที่ผลักดันให้นักลงทุนซื้อหรือขายสกุลเงินนั้นๆ (เพราะต้องซื้อพันธบัตรในรูปของสกุลเงินประเทศนั้นๆ) โดยทั่วไปแล้ว ถ้าประเทศไหนให้ผลตอบแทนพันธบัตรสูงๆ เงินทุนก็จะหลั่งไหลเข้าซื้อพันธบัตร หรือก็คือเงินทุนหลั่งไหลเข้าสกุลเงินประเทศนั้นๆ ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นนั่นเอง
สรุปกลไกคือ:
ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย > คนอยากซื้อพันธบัตรที่ให้ดอกเบี้ยสูง (High Bond Yield) > เงินไหลเข้าสกุลเงินประเทศผู้ขายพันธบัตร > ค่าเงินแข็งค่า (เพราะมี Demand เยอะ)
ตัวอย่างเช่น:
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย > ดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯ(Bond Yield) สูงขึ้น > มีความต้องการเงิน USD เพื่อใช้ซื้อพันธบัตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น > USD แข็งค่า
ถึงเวลากลับมาตอบคำถามของหัวข้อบทความครั้งนี้…
#สรุปตลาดฟอเร็กซ์มีความเชื่อมโยงกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหรือไม่?
คำตอบคือ ใช่
แล้วจะเอาไปประยุกต์การเทรดได้อย่างไร?
ง่ายๆ ถ้าเรารู้ว่าประเทศไหนขึ้นดอกเบี้ยแล้วสกุลเงินจะแข็งค่าขึ้น ก็เลือกซื้อสกุลเงินที่แข็งค่าแล้วขายสกุลเงินที่อ่อนค่า (ก็คือการ Buy สกุลเงินที่แข็งค่านั่นแหละ) เช่น (FED) ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย > USD แข็งค่า > คู่เงิน USDJPY ก็ควร Buy นั่นเอง
*แต่ไม่เคยมีคำว่า100%ในตลาดฟอเร็กซ์(อันที่จริงก็ทุกตลาดการลงทุน) ดังนั้นอย่าหน้ามืดตามัวคิดว่าจะเข้าสูตรนี้ทุกครั้งนะครับ ให้เรารู้ไว้เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยอื่นๆจะดีกว่า และจะได้เข้าใจว่าทำไมถึงค่าเงินแข็งค่าเมื่อขึ้นดอกเบี้ย
หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกท่านครับ
ZFX Thailand
$$$ ถ้าอยากเทรดฟอเร็กซ์ เช่นคู่ USDJPY ก็มาเทรดกับ #ZFX ได้เลย สเปรดต่ำ และเรายังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกมากมายให้คุณเทรด รวมทั้งมีความรู้การเทรดให้เรียนรู้ และมีกลุ่ม Line OpenChat ให้กับลูกค้าของเรา ไว้พูดคุย อัพเดทข่าวสารสำคัญ และรับการวิเคราะห์แนวโน้มคู่ที่น่าสนใจรายวันจากนักวิเคราะห์ประจำโบรกเกอร์ ZFX สนใจคลิกลิ้งค์ข้างล่างได้เลย $$$
================================
เปิดบัญชีจริงกับ ZFX แล้วเริ่มเทรดหุ้นต่างประเทศ สกุลเงิน และ ดัชนีชั้นนำมากมาย กับเราได้เลยที่ https://my.zfx.com/th/reg/live พร้อมรับโปรโมชั่นมากมาย!
================================
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสำคัญ และอยากรับการวิเคราะห์แนวโน้มรายวันจากนักวิเคราะห์ประจำโบรคเกอร์ ZFX ก่อนใคร เชิญได้เลยที่ Line Open Chat : https://bit.ly/2P8EKeQ (ใส่รหัสMT4ขอเข้ากลุ่ม)
=================================
#FED #BOT #Interest #เงินเฟ้อ #ดอกเบี้ย #forex #stock #investment #ZFX #ZFXThailand