จับตา ตัวเลข PMI สหรัฐคืนนี้ 21.00น ก่อนวันประกาศดอกเบี้ย!: สรุปข่าว 1 พ.ย. 65
(PMI) ของ Institute for Supply Management (ISM) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยตัวเลขดัชนี ที่ตลาดจับตามองเพื่อนำมาประกอบกับแนวโน้ม นโยบายการเงินของ ธนาคารกลางสหรัฐ
ข่าว Forex วันนี้
1.**จับตา ตัวเลข PMI สหรัฐคืนนี้ 21.00น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อการผลิต (PMI) ของ Institute for Supply Management (ISM) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยตัวเลขดัชนี ที่ตลาดจับตามองเพื่อนำมาประกอบกับแนวโน้ม นโยบายการเงินของ
ธนาคารกลางสหรัฐ
ซึ่ง PMI หรือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อการผลิต ให้แนวโน้มเกี่ยวกับสถานะของภาคการผลิตของสหรัฐฯ หากตัวเลขจริงออกมาสูงกว่า 50
จะแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางธุรกิจขยายตัวในช่วงระยะเวลาสำรวจและในขณะเดียวกัน ตัวเลขดัชนี PMI ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่สามารถส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจ
มักจะส่งผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (กรณีที่ออกมาดีกว่าคาดการณ์) และยังสามารถบ่งชี้หรือเป็นแนวโน้มของตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อให้กระจ่างขึ้น
2.**ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาดการณ์
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.85% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ทั้งนี้ RBA ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อในประเทศ
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียดีดตัวขึ้นทันทีกว่า 1% หลังจากธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25%
ส่วนในการประชุมเดือนต.ค.ที่ผ่านมา RBA ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 0.50% โดย RBA
ระบุในรายงานการประชุมว่า การดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินในช่วงที่ผ่านมานั้น ได้ส่งผลกระทบต่อราคาบ้านและความมั่งคั่งของภาคครัวเรือน
และอาจส่งผลให้การอุปโภคบริโภคชะลอตัวลงเมื่อเวลาผ่านไป จึงทำให้คณะกรรมการ RBA
หารือกันว่าควรจะชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
3.**น้ำมัน WTI ร่วงเล็กน้อยหลังตลาด กังวลดีมานด์ในจีนชะลอตัว
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (31 ต.ค.) หลังจากมีรายงานว่าการผลิตน้ำมันในสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่โรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด
นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน รวมทั้งความกังวลที่ว่ามาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดของจีนจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน
ข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐระบุว่า การผลิตน้ำมันในเดือนส.ค.พุ่งขึ้นเกือบแตะระดับ 12 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่โรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด
นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ซึ่งระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตประจำเดือนต.ค. ปรับตัวลงแตะระดับ 49.2 จากระดับ 50.1 ในเดือนก.ย. ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการร่วงลงสู่ร่ะดับ 48.7 จากระดับ 50.6 ในเดือนก.ย.
ทั้งนี้ ดัชนี PMI อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของจีนอยู่ในภาวะหดตัว
เศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งการส่งออกที่ชะลอตัวลง ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนลงมาอยู่ที่ 3.2% ในปี 2565 จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.4% หลังจากมีการขยายตัว 8.1% ในปี 2564
นักลงทุนจับตารายงานข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ เรียกร้องให้บริษัทน้ำมันและก๊าซนำผลกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์บางส่วนของพวกเขา มาช่วยลดค่าครองชีพแก่ครอบครัวชาวอเมริกัน
*****************************
อ่านข่าวรวม กดที่ลิ้งค์ : /th/market-news/
*****************************
ข้อมูลอ้างอิง – infoquest / Reuters / Bloomberg News / Investing / CNBC
#MarketNews #ZFX #ZFXThailand #US #USD #เงินเฟ้อ #Gold #ทอง #เงินเฟ้อ #อัตราเงินเฟ้อ #Investing #Bloomberg #Forexวันนี้ #ทองคำวันนี้ #แนวโน้ม #นโยบายการเงิน #เศรษฐกิจ #ศก. #US #USD #ธนาคารกลาง #ForexToday #Forex #China #PMI #WTI #น้ำมัน #ราคาน้ำมัน #ราคาน้ำมันวันนี้ #น้ำมันWTI #ดอกเบี้ย #อัตราดอกเบี้ย