สรุปข่าวสำคัญประจำวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565
1.**จับตา! เงินเฟ้อญี่ปุ่นทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ 2.2% เหตุราคาพลังงานสูง
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสดซึ่งมีความผันผวน พุ่งขึ้น 2.2% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี และสูงกว่าระดับเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กำหนดไว้ที่ 2% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งจะเพิ่มผลกระทบต่อภาคครัวเรือนของญี่ปุ่น
โดยราคาน้ำมันก๊าดพุ่งขึ้น 23.4% จากปีก่อนหน้า ส่วนราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 12.2% โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของพลังงานทั้งสองนั้นชะลอตัวลงจากเดือนพ.ค. ส่วนราคาก๊าซในเมืองพุ่งขึ้น 21.9%
ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเริ่มตระหนักถึงราคาสินค้าในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น เช่น อาหาร ขณะที่นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ กล่าวหลังจากการประชุมนโยบายเมื่อวานนี้ (21 ก.ค.) ว่า การเพิ่มขึ้นของค่าแรงไม่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
2.*รัสเซียผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น 3.4% ในครึ่งปีแรก แต่การผลิตก๊าซลดลง 5%
นายนิโคไล ชุลกินอฟ รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซียเปิดเผยในระหว่างการประชุมร่วมกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของรัสเซียในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบรายปี แต่การผลิตก๊าซปรับตัวลง 5%
ส่วนการผลิตถ่านหินในช่วงครึ่งปีแรกยังคงอยู่ในระดับเดียวกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่การผลิตน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบรายปี
นายชุลกินอฟยังระบุว่า ผลการดำเนินงานในภาคพลังงานของรัสเซียช่วงครึ่งแรกปี 2565 นั้น ยังสามารถปรับตัวรับสภาวะทางเศรษฐกิจที่ท้าทายได้ โดยเพิ่มเติมว่า ตลาดพลังงานในประเทศมีความเสถียรและไม่มีปัญหาเรื่องอุปทานด้านพลังงานแต่อย่างใด
3.*ADB หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจจีนปีนี้เหลือ 4% จากผลกระทบมาตรการคุมโควิด
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนปี 2565 ลงสู่ระดับ 4% จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 5% โดยระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนยึดมั่นในนโยบายโควิดเป็นศูนย์และการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อภาคอสังหาริมทรัพย์มากยิ่งขึ้น
รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียประจำปี 2565 (Asian Development Outlook 2022) ของ ADB ซึ่งมีการเผยแพร่ในวันนี้ (21 ก.ค.) ระบุว่า “การยึดมั่นในกลยุทธ์โควิดเป็นศูนย์ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2565 ได้นำไปสู่การบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด”
“เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เนื่องจากหลายประเทศเลือกแนวทางการใช้ชีวิตร่วมกับโรคโควิด-19 และเปิดประเทศกันมากขึ้น ยกเว้นจีน”
นอกเหนือจากการบริโภคภาคครัวเรือนที่อ่อนแอจากผลพวงของการล็อกดาวน์แล้ว เศรษฐกิจจีนยังต้องแบกภาระจากกรณีที่ตลาดที่อยู่อาศัยไร้เสถียรภาพอีกด้วย” ADB ระบุในรายงาน
ADB กล่าวต่อว่า อุปสงค์ของภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า GDP ไตรมาส 2 ของจีนขยายตัวเพียง 0.4% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ระดับ 5.5% อยู่มาก เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคโควิด-19
ข้อมูลอ้างอิง – infoquest / NHK WORLD JAPAN / Xinhua News / Reuters
#MarketNews #ZFX #ZFXThailand
CTA(Picture):อ่านข่าวเต็มคลิก!